กิจกรรม 31 ม.ค. - 4 ก.พ. 2554 คะแนน 110 คะแนน

 





ตอบข้อ  2
วิเคราะห์ข้อมูล :  การเกิดปฏิกิริยาเคมี
    
ถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร



ตอบข้อ  2
วิเคราะห์ข้อมูล :  



สารละลาย (Solution) คือ สารเนื้อเดียวที่มีสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ถ้าตัวถูกสารละลายและตัวทำละลายมีสถานะเดียวกันสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย แต่ถ้าสารทั้งสองมีสถานะแตกต่างกันสารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายเป็นตัวทำละลาย
หน่วยของสารละลาย เป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณของตัวละลายที่ละลายอยู่ในตัวทำละลายหรือในสารละลายนั้น วัดในรูปความเข้มข้นปริมาณตัวถูกละลายต่อปริมาณสารละลาย (ยกเว้นหน่วยโมลต่อกิโลกรัม)
1. ร้อยละ
1.1 ร้อยละโดยมวล(มวล/มวล) คือ ปริมาณมวลของตัวถูกละลายในมวลของสารละลาย 100 หน่วยมวล
1.2 ร้อยละโดยปริมาตร(ปริมาตร/ปริมาตร) คือ ปริมาตรของตัวถูกละลายในสารละลายปริมาตร 100 หน่วยปริมาตร นิยมใช้กับสารละลายที่เป็นของเหลว เช่น สารละลายแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 20 โดยปริมาตร หมายความว่าสารละลายนี้ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรจะมีแอลกอฮอล์ละลายอยู่ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1.3 ร้อยละมวลต่อปริมาตร คือ ปริมาณของตัวถูกละลายในปริมาตรของสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร โดยทั่วไปถ้ามวลของตัวถูกละลายมีหน่วยเป็นกรัม ปริมาตรของสารละลายจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร และถ้ามวลของตัวถูกละลายมีหน่วยเป็นกิโลกรัม ปริมาตรของสารละลายจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เดซิเมตรหรือลิตร หน่วยมวลและหน่วยปริมาตรต้องให้สอดคล้องกันด้วย
2. โมลาริตี หรือโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร (mol/dm3 หรือ mol/l) เป็นหน่วยที่บอกจำนวนโมลของตัว ถูกละลายในสารละลาย 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร หน่วยความเข้มข้นเป็นโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตรอาจเรียกย่อได้เป็นโมลาร์ (Molar) ใช้สัญลักษณ์ M
3. โมแลลิตี หรือ โมลต่อกิโลกรัม (mol/kg) เป็นหน่วยที่บอกจำนวนโมลของตัวถูกละลายที่ละลาย ในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม จึงมีหน่วยเป็น mol/kg หรือเรียกว่า โมแลล (Molal) ใช้สัญลักษณ์ m
4. เศษส่วนโมล (Mole fractions) คือ สัดส่วนจำนวนโมลของสารองค์ประกอบหนึ่งต่อจำนวนโมลรวม ของสารทุกชนิดในสารละลาย ใช้สัญลักษณ์ X เช่น สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A a mol, B b mol และ C c mol จะได้เศษส่วนโมลของสาร A, B และ C ดังนี้
เศษส่วนโมลของสาร A (XA) = a / ( a + b + c )
เศษส่วนโมลของสาร B (XB) = b / ( a + b + c )
เศษส่วนโมลของสาร C (XC) = c / ( a + b + c )
ผลรวมของเศษส่วนโมลของสารองค์ประกอบทั้งหมดคือ XA + XB + XC มีค่าเท่ากับ 1 และเมื่อนำค่าเศษส่วนโมลของแต่ละสารมาคูณด้วยร้อย จะได้ความเข้มข้นในหน่วยร้อยละโดยมวลของสารนั้น
ร้อยละโดยมวลของสาร A = เศษส่วนโมลของสาร A * 100
ร้อยละโดยมวลของสาร B = เศษส่วนโมลของสาร B * 100
ร้อยละโดยมวลของสาร C = เศษส่วนโมลของสาร C * 100
5. ส่วนในล้านส่วน (parts per million; ppm) เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวถูกละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย 1 ล้านหน่วยมวลเดียวกัน ซึ่งเป็นหน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางมาก ๆ หรืออาจใช้แสดงปริมาณของสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในสารเคมีที่บริสุทธิ์ต่าง ๆ เช่น สารละลายโพแทสเซียมไนเตรตเข้มข้น 2 ppm หมายความว่ามีโพแทสเซียมไนเตรตเป็นตัวละลาย 2 ส่วน (กรัม) ละลายอยู่ในสารละลาย 1 ล้านส่วน (กรัม) หรือ 106 กรัม





ตอบข้อ  4
วิเคราะห์ข้อมูล  :   ความหมายของฝนกรดฝนกรด หมายถึง น้ำฝนที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6
ฝนกรด (Acid Rain) วัดได้จากการใช้สเกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น น้ำบริสุทธิ์มี pH เท่ากับ 7 น้ำฝนปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยเพราะว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ ส่วนฝนกรดจะมี pH ต่ำกว่า 5.6
                 ที่มา :  http://www.na-roo.co.cc/index_data/world/index/acid_rain.html


ตอบข้อ  1
วิเคราะห์ข้อมูล :  
กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ(อังกฤษ:hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง

กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดยนักเล่นแร่แปรธาตุชื่อจาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir ibn Hayyan) ราวปี 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl

กรดเกลือในน้ำยาล้างห้องน้ำ จะมีคุณสมบัติในการกัดกร่อนคราบสกปรก ทำให้สามารถทำความสะอาดสุขภัณฑ์ได้ง่าย ซึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มักโฆษณาว่า “ แค่เทน้ำทิ้งไว้สักครู่ ไม่ต้องเสียเวลาขัด ก็จะขจัดคราบสกปรกได้แล้ว ” ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะมีกรดเกลือเป็นส่วนผสมอยู่เสมอ

ที่มา:   http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080719075535AAxbJfd





ตอบข้อ 2
วิเคราะห์ข้อมูล  :   ไอโซโทป (Isotope) หมายถึงอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน(หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน )แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน(หรือมีมวลต่างกัน)อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกันอะตอมของธาตุดังกล่าวเรียกว่าเป็นไอโซโทป เช่น 12C,13C และ 14C เป็นไอโซโทปกัน (เลขอะตอม C = 6 ) สัญลักษณ์นิวเคลียร์จำนวนอิเล็กตรอนจำนวนโปรตอนจำนวนนิวตรอน

ไอโซโทปของธาตุบางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป และมีชื่อเฉพาะดังนี้

11H เรียกว่า โปรเตรียม ใช้สัญลักษณ์ H
21H เรียกว่า ดิวทีเรียม ใช้สัญลักษณ์ D
31H เรียกว่า ตริเตรียม ใช้สัญลักษณ์ T

ไอโซโทน (Isotone)
ไอโซโทน ( Isotone ) หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน แต่มีเลขมวลและเลขอะตอมไม่เท่ากัน

เช่น 188O199F เป็นไอโซโทนกัน มีนิวตรอนเท่ากันคือ n = 10

ธาตุ          A            Z          n
18O         18          8          9
19F          19        10       10

จะเห็นได้ว่าเฉพาะ n เท่านั้นที่เท่ากัน แต่ A และ Z ไม่เท่ากัน จึงเป็นไอโซโทน

ไอโซบาร์(Isobar)

ไอโซบาร์ (Isobar) หมายถึง [color=0ffa9a]ธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน แต่มีมวลอะตอมและจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากั�ธาตุ          A          Z        n         
30 15P    30      15      14
30 14Si   30      14      15

จะเห็นได้ว่าเฉพาะ A เท่านั้นที่เท่ากัน แต่ Z และ n ไม่เท่ากัน จึงเป็นไอโซบาร์




ตอบข้อ   4
วิเคราะห์ข้อมูล  :  
เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1
เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ





ตอบข้อ  3
วิเคราะห์ข้อมูล  :  
สารประกอบ
สารประกอบ (Compound) เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน สร้างพันธะเคมีต่อกันในอัตราส่วนที่คงที่ เกิดเป็นโมเลกุล เขียนแทนสูตรเคมี เช่น น้ำ (H2O) เกลือแกง (NaCl) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำส้มสายชู (CH3COOH) เป็นต้น จะพบว่าสารประกอบมีสูตรเดียว ถ้าสูตรเคมีเปลี่ยนไปจะไม่ใช่สารเดิม เช่น ธาตุคาร์บอน (C) ทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน (O2) เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันไป
สารประกอบสามารถแยกสลายให้องค์ประกอบย่อย เช่น เมื่อเผาด่างทับทิม (KMnO4) จะได้ก๊าซออกซิเจน ของแข็งสีเขียว (K2MnO2) และของแข็งสีดำ (MnO2) เป็นต้น




ตอบข้อ 4
วิเคราะห์ข้อมูล :  สมบัติของสารประกอบไอออนิก     จากลักษณะการสร้างพันธะไอออนิกซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยวต่อเนื่องกันเป็นผลึก และลักษณะอะตอมของธาตุที่มีประจุเป็นไอออนบวกและไอออนลบรวมกันอยู่  ส่งผลให้สารประกอบไอออนิกมีสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
     1.  สารประกอบไอออนิกจะมีจุดหลอมเหวและจุดเดือดที่สูง เนื่องจากพันธะไอออนิกเกิดจากแรงยึดเหนี่ยวของประจุไฟฟ้าซึ่งมีความแข็งแรงสูง ยากต่อการทำให้แยกออกจากกัน อีกทั้งยังมีลักษณะการยึดเหนี่ยวที่ต่อเนื่องกันผลึก การที่จะทำให้สารประกอบไอออนิกเปลี่ยนสถานะจึงต้องอาศัยพลังงานจำนวนมากในการทำลายแรงยึดเหนี่ยว ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจึงมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูงกว่าสารประกอบโคเวเลนต์
     2.  สมบัติที่สำคัญอีกประการของสารประกอบไอออนิก คือ เมื่อเป็นของแข็งจะไม่นำไฟฟ้า แต่จะนำไฟฟ้าได้ดีเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวหรือเมื่ออยุ่ในสภาพของสารละลาย เนื่องจากในสถานะของแข็งไอออนต่าง ๆ ซึ่งมีประจุไฟฟ้าจะถูกยึดเหนี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น แต่เมื่อนำไปหลอมเหลวหรือนำไปละลายน้ำ โครงผลึกจะหลุดออกเสียสภาพไปทำให้ไอออนสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ สารประกอบไอออนิกจึงสามารถนำไฟฟ้าได้

                             ที่มา :   http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3059




ตอบ  0.3 g / min
วิเคราะห์ข้อมูล  :  
1. ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl กับเบสแก่ KOH ได้เกลือ KCl และน้ำ ดังนี้
HCl (aq) + KOH (aq)---------> KCl (aq) + H 2O (l)
 
2. ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่ HCl กับเบสอ่อน NH 4OH ได้เกลือ NH 4Cl และน้ำ
HCl (aq) + NH 4OH (aq) --------->NH 4Cl (aq) + H 2O (l)
 
3. ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด CH 3COOH และเบส NaOH ได้เกลือโซเดียมแอซิเตต (CH 3COONa) และน้ำ
CH 3COOH (aq) + NaOH (aq)---------> CH 3COONa (aq) + H 2O (l)
 
4. ปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกรด HCN กับเบส NH 4OH ได้เกลือ NH 4CN และน้ำ
HCN (aq) + NH 4OH (aq)--------->NH 4CN (aq) + H 2O (l)




ตอบ   5  วัน
วิเคราะห์ข้อมูล :   1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14  (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
          2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
          3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ  และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
          4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
          5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร  จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
          6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า





ตอบ  50  วินาที
วิเคราะห์ข้อมูล : 
ธาตุไอโอดีน

ไอโอดีนเป็นอโลหะอยู่ในหมู่ที่ VIIA มีกระจายอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ เช่น ในหิน ในดิน ใน

น้ำเกลือใต้ดิน ในทะเลมีไอโอดีนประมาณ 0.05 ppm นอกจากนี้ในแร่หลายชนิดก็มีไอโอดีนโดยอยู่ในรูปของสารประกอบ เช่น โซเดียมไอโดเดต (NaIO3) แคลเซียมไอโอเดต (Ca(IO3) 2) ไอโอดีนยังพบในสาหร่าย

ทะเลบางชนิดโดยเฉพาะสาหร่ายสีน้ำตาล แหล่งไอโอดีนที่สำคัญที่สุดในโลกคือ แหล่งโซเดียมไนเตรตในประเทศชิลี แต่ไนเตรตมีไอโอดีนตั้งแต่ร้อยละ 0.05 ถึง 0.3 โดยมวล ไอโอดีนที่พบในแหล่งนี้อยู่ในรูปของแคลเซียมไอโอเดต (Ca(IO3) 2) และบางส่วนอยู่ในรูปของสารประกอบผสมของโซเดียมไอโอเดต(NaIO3) และโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4)

ประโยชน์ ทิงเจอร์ไอโอดีนซึ่งได้จากละลายไอโอดีนในเอทานอลใช้ใส่แผลสดเพื่อฆ่าเชื้อโรคซิล

เวอร์ไอโอไดด์ (Agl) ใช้ในกิจการภาพถ่าย ร่างกายจำเป็นต้องได้รับไอโอดีน โดยปกติจะไดรับจากการบริโภคพืชหรือสัตว์ทะเล เนื่องจากไอโอไดด์ไอออนเป็นส่วนประกอบของโฮร์โมนไทรอกซินในต่อมไทรอยด์ ซึ่งควบคุมเมตโบลิซึมของร่างกาย ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคคอพอก เพราะการขยายตัวของต่อมไทรอยด์ เนื่องจากทำหน้าที่มากเกินไป เพื่อป้องกันการขาดธาตุไอโอดีนสำหรับผู้ที่ไม่ได้บริโภคเกลือสมุทรหรืออาหารทะเลหรือบริโภคน้อย ได้มีการผสมโซเดียมไอโอไดด์ (NaI) โพแทสเซียมไอโอดีน (KI) กับเกลือสินเธาว์ธาตุเพื่อใช้บริโภคเพื่อเพิ่มไอโอไดด์ไอออน

               ที่มา  :    http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=16e89419fed64b5c&pli=1







6 ความคิดเห็น:

  1. เรียบร้อยดีค่ะ ให้ไปเลย 110 คะแนน แต่ตัวเล็กไปหน่อยนะ :P

    ตอบลบ
  2. เอาไปเลย 110 คะแนนน อิอิ

    ตอบลบ
  3. โอเคจร้าเรียบร้อยเอาไปเลย 110 นะจร๋า

    ตอบลบ
  4. ขาวจังเลย เวปอ่ะ อิอิ

    เเต่เรียบร้อยดี เนื้อหาใช้ได้

    คะเเนน อยู่ประมาณที่.....

    ให้น้อยอย่าว่านะ

    .........


    110 คะเเนนจร้า

    ตอบลบ
  5. สวยงามค่ะ

    เอาไป 100 คะแนน

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาโอเคperface เอาไปเลย 110 จร้า

    ตอบลบ