กิจกรรม 17-21 มกราคม 2554




ตอบข้อ  2
วิเคราะห์ข้อมูล  :  พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี      ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารใหม่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องมีพลังงานเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง มักจะให้พลังงานความร้อน พลังงานแสง หรือพลังงานชนิดอื่นเป็นผลพลอยได้ การเผาผลาญอาหารในร่างกายของเรา ก็มีพลังงานเกิดขึ้น เราจึงสามารถนำพลังงานจากการเผาผลาญอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นต้น
     การเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดปฏิกิริยาเคมี มี 2 ประเภท คือ
    1. ปฏิกิริยาคายความร้อน (
exothermic  reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมา แก่สิ่งแวดล้อม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาผลาญอาหารในร่างกาย เป็นต้น
    2. ปฏิกิริยาดูดความร้อน (
endothermic  reaction)
คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้ว ดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง   ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
 ปฏิกิริยาการเผาไหม้                          
C  +  O2     ------>   CO2
                                           
ปฏิกิริยาการสันดาปในแก๊สหุงต้ม      2C4H10     +    13O2       ------>        8CO2    +      10H2
Oปฏิกิริยาการเกิดฝนกรด                          SO3  +  H2 O    ------>   H2SO4 ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก                   4Fe   +   3O2      ------>   2Fe2O3 . H2O



ตอบข้อ  4
วิเคราะห์ข้อมูล  : 

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
K = โพแทสเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
KCl = โพแทสเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
NaCl = โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)
H2 = ไฮโดรเจน

แต่ถ้าเปลี่ยนสารตั้งต้นของปฏิกิริยาจากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นน้ำ (H2O) สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้น เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยา ได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
H2O = น้ำ
Mg(OH)2 = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม
H2O = น้ำ
NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์
H2 = ไฮโดรเจน






ตอบข้อ  4
วิเคราะห์ข้อมูล  :  
กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (อังกฤษ: sulfuric acid หรือ อังกฤษบริติช: sulphuric acid) , H2SO 4, เป็น กรดแร่ (mineral acid) อย่างแรง ละลายได้ในน้ำที่ทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี ค.ศ. 2001 ทั่วโลกผลิตรวมกันประมาณ 165 ล้านตัน ซึ่งมูลค่าประมาณ 320,000 ล้านบาท (8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประโยชน์ของกรดกำมะถันได้แก่ ใช้ในการผลิตปุ๋ย กระบวนการผลิตแร่ การสังเคราะห์เคมี การกำจัดน้ำเสีย ใช้เป็นสารละลายอิเล็กทรอไลต์ในแบตเตอรี่และกระบวนการกลั่นน้ำมัน กรดกำมะถันมีชื่อเดิมคือ "Zayt al-Zaj" หรือ "ออยล์ออฟวิตริออล" (oil of vitriol)


 



ตอบข้อ  1
วิเคราะห์ข้อมูล  :   สารเคมีทุกชนิดส่วนใหญ่จะมีอันตราย ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีและปริมาณที่เราได้รับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีที่มีสลากเขียนข้างภาชนะที่บรรจุว่า "อันตราย (HAZARDOUS)"
และมีรูปหัวกะโหลกไขว้แล้วละก็ จะมีอันตรายที่รุนแรงมากหากเราใช้ไม่ถูกวิธีหรือขาดการ
เอาใจใส่ในการควบคุมดูแล
อันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมี แยกออกได้ และประเภท คือ
เกิดเพลิงไหม้
อันตรายต่อร่างกายของมนุษย์
การเกิดเพลิงไหม้ของสารเคมีไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซองค์ประกอบ
ที่สำคัญคือ ความร้อนและปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ช่วยในการติดไฟ และถ้าหากสารเคมีอยู่ใน
ภาชนะที่ปิดอาจจะเกิดการระเบิดได้ ดังนั้นถ้าหากเราสามารถกำจัดความร้อนและปริมาณก๊าซ
ออกซิเจนให้ต่ำกว่าปริมาณที่สามารถทำให้สารเคมีเกิดไฟได้ ก็จะช่วยในการป้องกันการเกิด
เพลิงไหม้จากสารเคมี
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ คือ จะเกิดก๊าซไวไฟเนื่องจากปฏิกิริยาของสารเคมีบาง
ชนิด เช่น เกิดก๊าซไฮโดรเจน (H2) จากปฎิกิริยาทางเคมีของขบวนการชุบโครเมียม เป็นต้น
ซึ่งเราจะต้องมีวิธีการกำจัดไม่ให้เจอกับประกายไฟอย่างเด็ดขาด เพราะก๊าซไฮโดรเจนเป็น
ก๊าซที่ติดไฟได้
สารเคมีที่สามารถทำปฏิกิริยาได้ไวกับสารเคมีตัวอื่น จะต้องเก็บไว้ในภาชนะที่เหมาะสม
โดยเฉพาะ มิเช่นนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุจากภาชนะที่บรรจุหลังขนส่งโดยกัดกร่อนเกิดการรั่ว
ของสารเคมีได้ ดังนั้นทางโรงงานจะต้องมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ และเอาใจใส่ในเรื่องนี้
อยู่ตลอดเวลาด้วย อันตราย ของสารเคมี ต่อร่างกายมนุษย์
อันตรายของสารเคมีต่อร่างกายมนุษย์ อันตรายที่เกิดขึ้นมีหลายรูปแบบ ตามลักษณะการสัมผัสและได้รับสารเคมีเข้าร่างกาย เช่น อาจจะเข้าร่างกายเราโดยทาง ปาก จมูก และผิวหนัง ดังนั้นโดยทั่วไปจะเกิดอาการต่อมนุษย์
คือ ทางระบบการย่อยอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และโรคผิวหนัง
อุบัติเหตุอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมี ก็เป็นอุบัติเหตุชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน
อุตสาหกรรมโดยทั่วไปได้ เนื่องจากการขาดการเอาใจใส่ต่อวิธีการใช้ หรือการตรวจสอบ
ภาชนะที่บรรจุ ในกรณีที่มีมาตรการป้องกันเกิดการชำรุดเสียหาย พนักงานในโรงงานต้องหายใจหรือรับ
เอาสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายมากอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ การที่เราต้องเอาใจใส่เรื่อง
สารเคมีก็เนื่องจากว่า ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีชนิดต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างกว้าง
ขวางนั่นเอง เช่น ก๊าซแอมโมเนีย (NH3)
อันตรายจะเกิดการระคายเคืองที่รุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้าหากมนุษย์หายใจ
เข้าไปปริมาณมากและมีความเข้มข้นสูง อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากก๊าซ
แอมโมเนียมีการใช้กันอย่างมากมายและมีความเข้มข้นสูง อาจจะทำให้เสียชีวิตได้
เนื่องจากก๊าซแอมโมเนียมีการใช้กันอย่างมากมาย ดังนั้นพนักงานควรใส่อุปกรณ์
ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วย เช่น ที่ครอบจมูกป้องกันก๊าซแอมโมเนียโดย
เฉพาะ ก๊าซแอมโมเนียสามารถระเบิดได้ หากรั่วไหลออกจากภาชนะที่บรรจุและเจอกับ
เปลวไฟที่มีอยู่บริเวณนั้น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4)
อันตรายที่เกิดขึ้นทันทีทันใด คือ หากหายใจเข้าไปมากๆ จะทำให้ขาดความรู้สึกตัว
บางทีอาจจะทำอันตรายต่อหัวใจได้ อันตรายที่รองลงมาคือ เกิดการปวดหลัง มีผลต่อ
ตับและไต และระบบของการมองเห็น และยังจะมีอันตรายมากขึ้นหากคนนั้นได้กิน
เหล้าด้วย การป้องกันที่ดีคือ ควรมีการระบายอากาศที่ดีเพื่อป้องกันการหายใจเอา
ไอของสารเคมีชนิดนี้เข้าไปในร่างกาย
กรดไฮโดรครอลิก (HCl) กรดนี้โดยทั่วไปเราเรียกว่า กรดเกลือ มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนโลหะต่างๆ
อันตรายต่อร่างกายมนุษย์คือ การระคายเคืองผิวหนังและระบบทางเดินหายใจหรือ
ส่วนอื่นๆ ที่เราสัมผัส การป้องกันโดยทั่วไปใช้ ถุงมือ ที่ปิดจมูก ครีมทา และระบบ
ระบายอากาศที่ดี กรดไนตริค (HNO3) เป็นกรดที่มีความรุนแรงมากในการทำปฏิกิริยาเคมี เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนให้กับ
สารตัวอื่น และเป็นตัวกัดกร่อนที่รุนแรง ต้องเก็บเอาไว้ในภาชนะที่เป็นแก้ว และ
ให้ห่างจากพวกกระดาษและไม้ หากมีความเข้มข้นมากๆ จะสามารถทำให้เกิดการ
ระเบิดและติดไฟได้ เมื่อกรดไนตริคทำปฏิกิริยากับสารอื่นแล้ว จะทำให้เกิดก๊าซ NOx (ออกไซด์ของ
ไนโตรเจน) ซึ่งก๊าซ NOx นี้จะมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจจนถึงปอดของ
มนุษย์ได้ การป้องกันที่ดี ี คือ ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือยางที่ปิดจมูก
เป็นต้น และต้องมีระบบระบายอากาศที่ดีด้วย
กรดซัลฟูริค (H2SO4) กรดนี้เราเรียกทั่วไปว่า กรดกำมะถัน ลักษณะเป็นของเหลวที่เข้มข้นเหมือนน้ำมัน
ใสๆ มีอันตรายต่อมนุษย์โดยการกัดกร่อนเนื้อเยื่อที่เราสัมผัส เช่น ทางเดินหายใจ
แผลพุพอง เกิดโรคผิวหนัง และระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
การป้องกัน ต้องระวังต่อไอที่ระเหยและการสัมผัสโดยตรง โดยการใช้อุปกรณ์ป้อง
กันอันตรายส่วนบุคคล กรดกำมะถัน ที่มีความเข้มข้นสูง จะกัดกร่อนต่อโลหะ และมีคุณสมบัติต่อการดูดน้ำ จากอากาศ และเมื่อทำปฏิกิริยากับโลหะจะเกิดก๊าซที่ไวไฟซึ่งสามารถเกิดการระเบิด
ได้ ไตรคลอโรเอทธิลีน (Cl-CH = CCl2)
มีคุณสมบัติเป็นด่างละลายคราบไขมันต่างๆ อันตรายต่อมนุษย์จะทำลายระบบประสาท
แต่มีผลต่อตับ ตลอดจนทำลายระบบไขมันของร่างกายได้ การป้องกันควรใช้อุปกรณ์
ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ ที่ปิดจมูก และอื่นๆ

                                                      ที่มา  :    http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=653



ตอบข้อ  2
วิเคราะห์ข้อมูล  :   ไอโซโทป(Isotope)

ไอโซโทป (Isotope) หมายถึงอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน(หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน )แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน(หรือมีมวลต่างกัน)อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกันอะตอมของธาตุดังกล่าวเรียกว่าเป็นไอโซโทป เช่น 12C,13C และ 14C เป็นไอโซโทปกัน (เลขอะตอม C = 6 ) สัญลักษณ์นิวเคลียร์จำนวนอิเล็กตรอนจำนวนโปรตอนจำนวนนิวตรอน

ไอโซโทปของธาตุบางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป และมีชื่อเฉพาะดังนี้

11H เรียกว่า โปรเตรียม ใช้สัญลักษณ์ H
21H เรียกว่า ดิวทีเรียม ใช้สัญลักษณ์ D
31H เรียกว่า ตริเตรียม ใช้สัญลักษณ์ T

ที่มา  :   http://www.kaweeclub.com/b93/t4181/



ตอบข้อ  3
วิเคราะห์ข้อมูล  : 
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
1. อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับพลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7
2. ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2 เมื่อ n = เลขชั้น    เลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7
ตัวอย่าง    จำนวน e- ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 12 = 2x1 = 2
              จำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n2
= 2 x 42 = 2x16 = 32
3. ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f
ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวน e-ได้ ไม่เกิน ดังนี้
ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2 p6 d10 f14


ตอบข้อ  3
วิเคราะห์ข้อมูล  :  
วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา

[แก้] การหาจำนวนวาเลนซ์อิเล็กตรอน

วาเลนซ์อิเล็กตรอน
Helium atom (not to scale)
แบบอะตอมฮีเลียม
แบบฮีเลียม (He) นี้ แสดง 2 วาเลนซ์อิเล็กตรอน

อยู่ในชั้นนอกสุดของระดับพลังงาน
ฮีเลียมเป็นธาตุในหมู่
ก๊าซมีตระกูล (noble gases) และมี
2 โปรตอน, 2 นิวตรอน, และ 2 อิเล็กตรอน.
การหาปริมาณวาเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุที่มี วิธีหนึ่งก็ดูที่ หมู่ธาตุ (คอลัมน์ในแนวตั้ง) ที่ซึ่งธาตุเรียงอยู่ ยกเว้น หมู่ 3-12 (โลหะทรานซิชั่น-transition metals) ตัวเลขในคอลัมน์ขวาสุดคือจำนวน วาเลนซ์อิเล็กตรอน ของธาตุในหมู่นั้น
หมู่จำนวน วาเลนซ์อิเล็กตรอน
หมู่ 1 (โลหะแอลคาไล)1
หมู่ 2 (โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท)2
หมู่ 3 - 12 (โลหะทรานซิชั่น)1-2
หมู่ 13 (หมู่โบรอน)3
หมู่ 14 (หมู่คาร์บอน)4
หมู่ 15 (พีนิคโคเจน)5
หมู่ 16 (แชลโคเจน)6
หมู่ 17 (แฮโลเจน)7
หมู่ 18 (ก๊าซมีตระกูล)*8
หมู่ธาตุที่มีเครื่องหมาย(*) ใช้แสดงว่าธาตุในหมู่ 18 ก๊าซมีตระกูล มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 8 ยกเว้น ฮีเลียม (He), มี 2





ตอบข้อ  2
วิเคราะห์ข้อมูล  : 
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึงสิ่งที่จะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ได้แก่
1. ความเข้มข้น สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารละลายที่เจือจาง
2. พื้นที่ผิว ของแข็งที่มีพื้นที่ผิวมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่า
3. อุณหภูมิ ที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
4. ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวคะตะลิสต์ (catalyst) เป็นสารชนิดต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น
ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวันและผลต่อสิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาเคมีเกิดจากสารทำปฏิกิริยากันแล้วได้สารใหม่ ซึ่งสารนั้นคือผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ รอบๆ ตัวเรามีปฏิกิริยาเกิดขึ้นมากมาย เช่น ปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีทั้งสิ้น จึงเห็นได้ว่าปฏิกิริยาเคมีมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างยิ่ง
ตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน
1. ฝนกรด เมื่อเกิดฝนตกลงมา น้ำ (H2O) จะละลายแก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศตามธรรมชาติ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
เมื่อน้ำละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จะทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ดังสมการ
เมื่อน้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดไหลไปตามภูเขาหินปูนก็จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ในหินปูน และได้สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Ca(HCO3)2) ออกมา ดังสมการ
เมื่อสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตไหลซึมไปตามเพดานถ้ำ น้ำจะระเหยไปเหลือแต่หินปูนเกาะจนกลายเป็นหินย้อยที่เพดานถ้ำ ถ้าสารละลายนี้หยดลงบนพื้นถ้ำ เมื่อน้ำระเหย ไปจะกลายเป็นหินงอกต่อไป
สรุปปฏิกิริยาเคมีในการเกิดหินย้อยและหินงอก
รูปแสดงหินย้อย
2. ปฏิกิริยาโลหะหรืออโลหะกับแก๊สออกซิเจน เมื่อนำธาตุโลหะ เช่น โซเดียม (Na) หรือแมกนีเซียม (Mg) ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน จะทำให้เกิดเปลวไฟสว่างและเกิดสารประกอบ ออกไซด์ของโลหะ ส่วนธาตุอโลหะ เช่น คาร์บอน (C) เมื่อทำปฏิกิริยา กับแก๊สออกซิเจนจะทำให้เกิดเปลวไฟสว่างและเกิดสารประกอบออกไซด์ของอโลหะ
ตัวอย่างสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวของธาตุกับแก๊สออกซิเจน ซึ่งทำให้เกิดเป็นสารประกอบออกไซด์ เช่น
3. ปฏิกิริยาออกไซด์ของโลหะหรืออโลหะกับน้ำ ออกไซด์ของโลหะเมื่อนำมาละลายน้ำจะให้สารละลายเบส ดังตัวอย่าง



ออกไซด์ของอโลหะเมื่อนำมาละลายน้ำจะให้สารละลายกรด ดังสมการ
สารละลายที่ได้คือ สารที่เป็นเบสและสารที่เป็นกรด สามารถตรวจสอบความเป็นกรดและเบสได้โดยใช้อินดิเคเตอร์หรือกระดาษลิตมัส
4. ปฏิกิริยาของโลหะกับน้ำ กรด หรือเบส เมื่อนำโลหะมาทำปฏิกิริยากับน้ำจะได้สารที่มีสมบัติเป็นเบส ดังตัวอย่าง
แต่เมื่อนำโลหะมาทำปฏิกิริยากับกรดจะได้เกลือกับแก๊สไฮโดรเจน ดังตัวอย่าง
และเมื่อนำโลหะบางชนิดมาทำปฏิกิริยากับเบสจะได้เกลือกับน้ำเกิดขึ้น

5. ปฏิกิริยากรดกับเบส เมื่อนำสารละลายกรดกับสารละลายเบสมาทำปฏิกิริยากันจะได้เกลือกับน้ำ ดังตัวอย่าง
6. ปฏิกิริยากรดกับสารคาร์บอเนต สารประกอบคาร์บอเนตเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังตัวอย่าง





ตอบข้อ  3
วิเคราะห์ข้อมูล  : 
ธาตุกัมมันตรังสี
          ในปี พ.ศ. 2439  อองตวน  อองรี  เบ็กเคอเรล (Antonine Henri Becquerel)  นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้พบว่าแผ่นฟิล์มถ่ายรูปที่ห่อหุ้มด้วยกระดาษดำและเก็บรวมไว้กับสารประกอบยูเรเนียมจะมีลักษณะเหมือนถูกแสงสว่าง  เขาจึงได้ทดลองเก็บแผ่นฟิล์มไว้กับสารประกอบของยูเรเนียมชนิดอื่น ๆ ดูบ้าง  ซึ่งก็พบว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นเช่นเดียวกัน  ดังนั้นเบ็กเคอเรสจึงได้สรุปว่า  เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากธาตุยูเรเนียมมีสมบัติในการแผ่รังสีออกมาได้
          หลังจากนั้น ปีแอร์ คูรี  และ  มารี คูรี (Pierre Curie and Marie Curie)  นักวิทยาศาสตร์คู่สามีภรรยาชาวฝรั่งเศส  ได้ค้นพบเพิ่มเติมว่า  ธาตุยูเรเนียมไม่ได้เป็นธาตุเพียงชนิดเดียวที่สามารถแผ่รังสีออกมาได้  แต่ยังมีธาตุชนิดอื่น ๆ ที่สามารถแผ่รังสีออกมาได้เช่นเดียวกัน  เช่น  ธาตุพอลโลเนียม (Po),  เรเดียม (Ra),  และทอเรียม (Th)  เป็นต้น  ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้เรียกรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุต่าง ๆ ว่า  กัมมันตภาพรังสี  และเรียกธาตุต่าง ๆ ที่มีสมบัติในการแผ่รังสีว่า  ธาตุกัมมันตรังสี
          การแผ่รังสีของธาตุกัมมันตรังสีเหล่านี้เกิดขึ้นในไอโซโทปของธาตุที่มีจำนวนนิวตรอนมากกว่าจำนวนโปรตอนมาก  ทำให้นิวเคลียสของธาตุไม่เสถียรจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธาตุที่มีความเสถียรมากขึ้น  โดยการสลายตัวเองเพื่อปล่อยอนุภาคภายในนิวเคลียสออกมาในรูปของการแผ่รังสี  การแผ่รังสีของธาตุเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ  โดยพบว่าธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในธรรมชาติที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 83 ส่วนใหญ่จะสามารถแผ่รังสีได้ทั้งสิ้น  ตัวอย่างเช่น  ธาตุเรเดียม,  ยูเรเนียม,  ทอเรียม  เป็นต้น
          การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีจะเกิดขึ้นได้โดยอะตอมของธาตุมีการปลดปล่อยองค์ประกอบและพลังงานที่อยู่ภายในอะตอมออกมา  ทำให้โครงสร้างของอะตอมเปลี่ยนแปลงไป  โดยองค์ประกอบและพลังงานของธาตุที่ถูกปลดปล่อยออกมานั้นจะแผ่ออกมาจากธาตุในรูปของรังสีต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด  คือ  รังสีแอลฟา,  รังสีบีตา  และรังสีแกมมา  ซึ่งรังสีต่าง ๆ จะมีลักษณะและสมบัติที่แตกต่างกัน  ดังนี้
          1.  รังสีแอลฟา (alpha)  เป็นอนุภาคที่มีสมบัติเหมือนนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม  คือเป็นอนุภาคซึ่งมีโปรตอนและนิวตรอนอย่างละ 2 อนุภาค  แต่ไม่มีอิเล็กตรอน  จึงมีประจุบวก 2 สามารถเบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ  เป็นรังสีที่มีอำนาจการทะลุทะลวงต่ำ
          2.  รังสีบีตา (beta)  เป็นอนุภาคที่มีประจุลบ  มีคุณสมบัติเหมือนอิเล็กตรอน  จึงสามารถเบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก  รังสีบีตามีอำนาจการทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ 100 เท่า  มีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงกว่ารังสีแอลฟา  และสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลกว่ารังสีแอลฟา
          3.  รังสีแกมมา (gamma)  มีคุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave)  ที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก  ไม่มีประจุและไม่มีมวล  จึงไม่มีการเบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า  มีอำนาจการทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีบีตามาก  เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาออกมา  แต่นิวเคลียสของธาตุยังไม่เสถียร  ยังมีระดับพลังงานที่สูงอยู่  จึงต้องปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน  โดยรังสีแกมมาจะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงมากจนมีค่าใกล้เคียงกับความเร็วแสง


                                        ที่มา  :  http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3029





3 ความคิดเห็น:

  1. ตัวหนังสือเล็กไปหน่อย

    เเต่เนื้อหาครบ ตรงกับข้อมูล

    มีเเหหล่งที่มา

    ให้คะเเนน 90 คะเเนน

    ตอบลบ
  2. เกือบดี ตัวเล็กไปหน่อยนะ 95 ละกัน

    ตอบลบ
  3. ตัวหนังสือ เล็กไปหน่อย

    ให้คะแนน 90 คะแนน

    ตอบลบ