กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554




ตอบข้อ 3
วิเคราะห์ข้อมูล  : 
  1. ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ขยะเปียก” เป็นขยะที่เน่าเปื่อยได้ง่าย เช่นเศษอาหาร เศษพืชผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น ขยะพวกนี้มีความชื้นสูง สามารถเน่าเปื่อยง่าย และส่งกลิ่นเหม็นได้เร็ว
  2. ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ขยะแห้ง” เช่น กระดาษ ถุงพลาสติก ขวดแก้วกระป๋องโลหะ เศษผ้า เศษไม้ ยาง เป็นต้น ขยะพวกนี้เน่าเปื่อยได้ยากหรืออาจไม่เน่าเปื่อย ทั้งยังสามารถเลือกเอาวัสดุที่ยังมีประโยชน์กลับมาใช้ใหม่ได้อีก โดยทำการคัดแยกก่อนทิ้ง อันจะช่วยให้ปริมาณขยะลดลง และสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้
  3. ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี หรือวัตถุมีพิษต่างๆที่พ้นจากสภาพใช้งานแล้ว รวมทั้งขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ หลอดฟลูออเรลเซนต์ กากสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมยา และสารเคมีเสื่อมสภาพ สำลี และเศษอวัยวะจากสถานพยาบาล เป็นต้น ขยะเหล่านี้จะต้องมีการทำลายด้วยวีธิพิเศษเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม และถูกเรียกว่าเป็นของเสียอันตราย


ตอบข้อ 1
วิเคราะห์ข้อมูล : 

1. ถ้าระบบคายความร้อนเมื่อเราจับจะรู้สึกร้อน (ระบบคายพลังงานให้เรา) หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัดอุณหภูมิจะสูงขึ้น เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม
2.ในทางกลับกันถ้าระบบดูดความร้อนเมื่อเราจับจะรู้สึกเย็น (ระบบดูดพลังงานจากมือเราไป) หรือเมื่อนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัดอุณหภูมิจะต่ำลง เพราะทั้งเราและเทอร์โมมิเตอร์ต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อม
3. ***ในการสร้างพันธะ จะต้องคายพลังงาน ในการสลายพันธะ จะต้องดูดพลังงาน ให้จำว่า "ดูดเพื่อสลาย คายเพื่อสร้าง"
4. ถ้าสาร 2 ชนิด รวมกันเป็นสารชนิดเดียว ให้สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน (เพราะมาสร้างพันธะกัน)
5. ถ้าสาร 1 ชนิด สลายเป็นสารหลายๆชนิด ให้สันนิษฐานว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน (ดูดเข้าไปแล้วสลายออกมา)



ตอบข้อ 4
วิเคราะห์ข้อมูล :  การเกิดปฏิกิริยาเคมี
    
ถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น




ตอบข้อ 2
วิเคราะห์ข้อมูล :  จากผลการทดลอง และความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว สามารถสรุปปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี
1.       ปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นปฏิกิริยาจะเกิดเร็วขึ้น และเมื่อลดความเข้มข้นของสารตั้งต้นปฏิกิริยาจะเกิดช้าลง
2.       สารที่มีพื้นที่ผิวมากจะเกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วกว่าสารที่มีพื้นที่ผิวน้อย
3.       การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้นและการลดอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดช้าลง
4.       ตัวเร่งปฏิกิริยาจะทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดเร็วขึ้นและตัวหน่วงปฏิกิริยาจะทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดช้าลง


 
ตอบข้อ 4
วิเคราะห์ข้อมูล :  สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (Nuclear symbol)เป็นสิ่งที่ใช้เขียนแทนโครงสร้างของอะตอม โดยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมวิธีการเขียนตามข้อตกลง สากลคือเขียนเลขอะตอมไว้มุมล่างซ้าย และเลขมวลไว้มุมบนซ้ายของสัญลักษณ์ของธาตุเขียนเป็นสูตรทั่ว ๆ ไปดังนี้

สัญลักษณ์ นิวเคลียร์=AZX
X คือ สัญลักษณ์ของธาตุ
A คือ เลขมวล
Z คือ เลขอะตอมถ้าให้
n = จำนวนนิวตรอน

จะสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่าง เลขอะตอม เลขมวล และจำนวนนิวตรอนได้ดังนี้

เลขมวล = เลขอะตอม + จำนวนนิวตรอน
A = Z + n

ดังนั้นสัญลักษณ์นิวเคลียร์จึงทำให้ทราบ ว่าธาตุดังกล่าวนั้นมีอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน อย่างละเท่าใด




ตอบข้อ 1
วิเคราะห์ข้อมูล : 
อันดับแรก ต้องสร้างสัญลักษณ์นิวเคลียร์ขึ้นมาก่อนค่ะ  และสิ่งที่ต้องทราบคือ เลขอะตอม เพราะมันเป็นธาตุจริง ยังไงเราก็ทราบเลขอะตอม และจากโจทย์ที่ให้มา นั้นคือเลขมวล cobalt-60 <---เลขมวล 60


cobalt-60 ซึ่งCo มีเลขอะตอม เท่ากับ 27(อันนี้ต้องรู้เองน่ะ)

สร้างสัญลักษณ์นิวเคลียร์  60Co
                              
27โปรตอน(p+)= 27 (ถ้าอยากรู้จำนวนโปรตอน ให้ดูที่เลขอะตอม)
อิเลคตรอน(e-)=27 (ถ้าธาตุเป็นกลาง อิเลคตรอนจะเท่ากับโปรตอนทันที)

นิวตรอน(n)=33(ถ้าอยากรู้จำนวนนิวตรอน ก็เอาเลขมวลลบเลขอะตอมค่ะ)


phosphorus-32 (ฟอสฟอรัสอยู่หมู่5 คาบ3 เลขอะตอม=15)

สร้างสัญลักษณ์นิวเคลียร์  32P
                              
15
โปรตอน(p+)= 15 (ถ้าอยากรู้จำนวนโปรตอน ให้ดูที่เลขอะตอม) 
อิเลคตรอน(e-)=15 (ถ้าธาตุเป็นกลาง อิเลคตรอนจะเท่ากับโปรตอนทันที)
 
นิวตรอน(n)=17(ถ้าอยากรู้จำนวนนิวตรอน ก็เอาเลขมวลลบเลขอะตอมค่ะ)
 

Iron-59( เลขอะตอมของFe=26)

สร้างสัญลักษณ์นิวเคลียร์  59Fe
                              
26โปรตอน(p+)= 26 
อิเลคตรอน(e-)=26 
นิวตรอน(n)=33 


Radium-226(เลขอะตอมเท่ากับ88)

สร้างสัญลักษณ์นิวเคลียร์  226Ra
                              
  8โปรตอน(p+)= 88  อิเลคตรอน(e-)=88  นิวตรอน(n)=138 




ตอบข้อ 3
วิเคราะห์ข้อมูล :
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่ แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่  X  คือ  สัญลักษณ์ธาตุ
            Z  คือ  เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
            A  คือ  เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
สูตร   A = Z + N

ที่มา : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_07.html




ตอบข้อ 2
วิเคราะห์ข้อมูล :  สมบัติของสารประกอบไอออนิก     จากลักษณะการสร้างพันธะไอออนิกซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยวต่อเนื่องกันเป็นผลึก และลักษณะอะตอมของธาตุที่มีประจุเป็นไอออนบวกและไอออนลบรวมกันอยู่  ส่งผลให้สารประกอบไอออนิกมีสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
     1.  สารประกอบไอออนิกจะมีจุดหลอมเหวและจุดเดือดที่สูง เนื่องจากพันธะไอออนิกเกิดจากแรงยึดเหนี่ยวของประจุไฟฟ้าซึ่งมีความแข็งแรง สูง ยากต่อการทำให้แยกออกจากกัน อีกทั้งยังมีลักษณะการยึดเหนี่ยวที่ต่อเนื่องกันผลึก การที่จะทำให้สารประกอบไอออนิกเปลี่ยนสถานะจึงต้องอาศัยพลังงานจำนวนมากใน การทำลายแรงยึดเหนี่ยว ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจึงมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูงกว่าสารประกอบโค เวเลนต์
     2.  สมบัติที่สำคัญอีกประการของสารประกอบไอออนิก คือ เมื่อเป็นของแข็งจะไม่นำไฟฟ้า แต่จะนำไฟฟ้าได้ดีเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวหรือเมื่ออยุ่ในสภาพของสารละลาย เนื่องจากในสถานะของแข็งไอออนต่าง ๆ ซึ่งมีประจุไฟฟ้าจะถูกยึดเหนี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น แต่เมื่อนำไปหลอมเหลวหรือนำไปละลายน้ำ โครงผลึกจะหลุดออกเสียสภาพไปทำให้ไอออนสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ สารประกอบไอออนิกจึงสามารถนำไฟฟ้าได้




ตอบข้อ 1
วิเคราะห์ข้อสอบ : สูตรและการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก     เนื่องจากสารประกอบไอออนิกมีลักษณะการสร้างพันธะต่อเนื่องกันเป็นผลึก ไม่ได้อยู่ในลักษณะของโมเลกุลเหมือนในสารประกอบโคเวเลนต์ ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจึงไม่มีสูตรโมเลกุลที่แท้จริง แต่จะมีการเขียนสูตรเพื่อแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบ เช่น โซเดียมคลอไรด์ เกิดจากอะตอมของธาตุโซเดียม (Na) อย่างน้อยที่สุด 1 อะตอม และอะตอมของธาตุคลอรีน (Cl) อย่างน้อยที่สุด 1 อะตอม จึงสามารถเขียนสูตรได้เป็น NaCl โดยการเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกจะเขียนนำด้วยธาตุที่เกิดเป็นไอออนบวก ก่อน จากนั้นจึงเขียนตามด้วยธาตุที่เกิดเป็นไอออนลบตามลำดับ
     วิธีการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกให้อ่านตามลำดับของธาตุที่เขียนในสูตร คือ เริ่มจากธาตุแรกซึ่งเกิดเป็นไอออนบวก (ธาตุโลหะ) แล้วตามด้วยธาตุหลังซึ่งเป็นไอออนลบ (ธาตุอโลหะ) ดังนี้
     1.  เริ่มจากอ่านชื่อไอออนบวก (ธาตุโลหะ) ก่อน
     2.  อ่านชื่อธาตุไอออนลบ (ธาตุอโลหะ) โดยเปลี่ยนเสียงสุดท้ายเป็น -ไอด์ (-ide) ดังตัวอย่างเช่น
           NaCl              อ่านว่า      โซเดียมคลอไรด์
           MgO              อ่านว่า      แมกนีเซียมออกไซด์
           Al2O3            อ่านว่า      อะลูมิเนียมออกไซด์
     3.  หากไอออนลบมีลักษณะเป็นกลุ่มธาตุ จะมีชื่อเรียกเฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น No3- เรียกว่า ไนเดรต, CO32- เรียกว่า คาร์บอเนต, SO42- เรียกว่า ซัลเฟต OH- เรียกว่า ไฮดรอกไซด์ เป็นต้น ดังตัวอย่างเช่น
           CaCO3           อ่านว่า       แคลเซียมคาร์บอเนต
           Na2SO         อ่านว่า      โซเดียมซัลเฟต
 





ตอบข้อ 3
วิเคราะห์ข้อมูล : 
ธาตุกัมมันตรังสี หมาย ถึง ธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่อง จากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า  82
          กัมมันตภาพรังส หมาย ถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว มี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
          ในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่ง มีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น

(ธาตุยูเรเนียม)      (ธาตุทอเลียม) (อนุภาคแอลฟา)
          จะเห็นได้ว่า การแผ่รังสี จะทำให้เกิดธาตุใหม่ได้  หรืออาจเป็นธาตุเดิมแต่จำนวนโปรตอนหรือนิวตรอนอาจไม่เท่ากับธาตุเดิม  และธาตุกัมมันตรังสีแต่ละธาตุ  มีระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกันและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน  เรียกว่า ครึ่งชีวิตของธาตุ
          ครึ่งชีวิตเป็น สมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทปและสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของ ธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้







3 ความคิดเห็น:

  1. ทำงานดี

    มีวิเคราะห์ข้อมูล

    มีเเหล่งที่มา

    เนื้อหาตรงกับข้อมูล

    มีเฉลย ครบถ้วน

    ให้คะเเนน 100 คะเเนนเต็ม

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาตรงกับข้อมูล

    มีเฉลย ครบถ้วน

    ให้คะเเนน 100 คะเเนนเต็ม

    ตอบลบ